
สาระที่ 4 การอาชีพ
มาตรฐาน ง 4.1 เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น มีประสบการณ์ เห็นแนวทางในงานอาชีพ ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ มีคุณธรรม และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
ตัวชี้วัด ข้อที่ 1 อธิบายแนวทางการเลือกอาชีพ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง การประชาสัมพันธ์กับการโฆษณา
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและนำทักษะเกี่ยวกับงานประชาสัมพันธ์ไปใช้ใน การประชาสัมพันธ์ได้ จัดทำสื่อสำหรับการประชาสัมพันธ์แบบง่าย ๆ ตลอดจนสามารถปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ในหน่วยงานต่าง ๆ ได้ มีเจตคติที่ดีในการทำงาน รักชาติศาสน์กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัยใฝ่เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มี จิตสาธารณะ และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้ (K) เพื่อให้นักเรียนสามารถ
1. บอกความหมายและวัตถุประสงค์ของการโฆษณาได้
2. อธิบายความแตกต่างระหว่างการประชาสัมพันธ์กับการโฆษณาได้
3. บอกขั้นตอนและสื่อที่ใช้โฆษณาได้
4. อธิบายความหมายสื่อและเครื่องมือที่ใช้โฆษณาเพื่อการประชาสัมพันธ์ได้
ด้านเจตคติ ด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ ( A ) เพื่อให้นักเรียนสามารถ
1. มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
2. มีคุณธรรมรักชาติศาสน์กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัยใฝ่เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มี จิตสาธารณะ
3. มีทักษะในการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
4. มีคุณธรรม เรื่องเวสารัชชกรณธรรมรับผิดชอบขยันซื่อสัตย์อดทนอดออม มุ่งมั่น) ด้านทักษะ และขบวนการ ( P ) เพื่อให้นักเรียนสามารถ
1. ทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
การประชาสัมพันธ์กับการโฆษณา
การโฆษณา ( Advertising ) เป็นอีกคำ ที่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิด คำว่า การประชาสัมพันธ์ ( Public Relations )
การโฆษณามุ่งโน้มน้าวจิตใจประชาชนหรือกลุ่มผู้บริโภคให้เกิดความปรารถนาที่ จะซื้อสินค้าหรือบริการขององค์กรนั้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง ส่วนแบ่งทางการตลาด ( Market Share )
การโฆษณาเพื่อการประชาสัมพันธ์เพื่อมุ่งสร้างความนิยมและสร้างชื่อเสียงให้ กับหน่วยงานหรือเพื่อบริการแก่สาธารณชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างส่วนแบ่งทางจิตใจ
การประชาสัมพันธ์กับการโฆษณาชวนเชื่อ ( Propaganda )
มักถูกใช้เป็นเครื่องมือในการจูงใจ โน้มน้าวใจด้วยกลวิธีต่างๆให้ประชาชนหลงเชื่อ และเห็นดีเห็นงามด้วย ซึ่งการโฆษณาชวนเชื่อสามารถนำมาให้ในด้านต่างๆเช่นด้านสาธารณกุศล ด้านการเมือง และด้านการบริการสังคมด้านต่างๆ เพื่อชักจูงความคิดและการกระทำให้เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายของผู้ที่กระทำโฆษณา ช่วนเชื่อ
การประชาสัมพันธ์กับการโฆษณาเผยแพร่ ( Publicity )
เป็นการเผยแพร่ข่าวสารและเรื่องราวต่างๆ ให้ประชาชนเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องนั้นๆ ให้ผู้รับข่าวสารเกิดความสนใจ ความนิยมชมชอบ โดยการใช้สื่อทุกประเภท
การประชาสัมพันธ์กับการสารนิเทศ
การสารนิเทศ ( Information Service ) เป็นการให้ขข่าวสานข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เป็นประโยชน์และเป็นสิ่งที่ประชาชนควรรู้ อาจเป็นข่าวคราวความเคลื่อนไหว การแจ้งนโยบาลของรัฐบาล การเผยแพร่ชื่อเสียงและหน่วยงานต่างประเทศ
การประชาสัมพันธ์กับการตลาด
การประชาสัมพันธ์เป็นองค์ประกอบอีกอย่างในส่วนผสมทางการตลาด ( Market Mix ) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมการจัดจำหน่าย เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งทางการตลาด ( Market Share )